วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ข้อแนะนำการติดต่องานสัสดี


การลงบัญชีทหารกองเกิน (ใบสำคัญ แบบ สด.๙)
หลักเกณฑ์ อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ไปลงบัญชีตามภูมิลำเนาบิดา ถ้าบิดาถึงแก่กรรมลงตามมารดา ถ้ามารดาถึงแก่กรรมลงตามผู้ปกตรอง พร้อมหลักฐานต่อไปนี้.-
๑.  บัตรประจำตัวประชาชน
๒.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
๓.  สูติบัตร



การขอรับหนังสือสำคัญ แบบ สด.๘
หลักฐาน ที่ต้องนำมาแสดง
๑.  บัตรประจำตัวประชาชน
๒.  ใบอนุญาตให้ลา แบบ ๒ (ทหารกองประจำการ) ถ้ามี
๓.  หนังสือสำคัญประจำตัว แสดงวิทยฐานะของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นักศึกษาวิชาทหาร) ถ้ามี


การขอรับหมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕)
หลักเกณฑ์ อายุย่าง ๒๑ ปี พร้อมหลักฐานต่อไปนี้.-
๑.  ใบสำคัญแบบ สด.๙
๒.  บัตรประจำตัวประชาชน
กรณีขอรับหมายเรียกแทนให้นำบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับแทนพร้อมหนังสือมอบฉันทะมาแสดงด้วย


การเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล
หลักฐาน ที่ต้องนำมาแสดง 
๑.  ใบสำคัญแบบ สด.๙ หรือ หนังสือสำคัญแบบ สด.๘
๒.  หนังสือสำคัฯการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล
๓.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
๔.  บัตรประจำตัวประชาชน


การขอย้ายภูมิลำเนาทหาร
หลักฐาน ที่ต้องนำมาแสดง
๑.  บัตรประจำตัวประชาชน
๒.  ใบสำคัญแบบ สด.๙ หรือหนังสือสำคัญแบบ สด.๘
๓.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน


การขอเอกสารแทนฉบับที่ชำรุด หรือสุญหาย
หลักฐาน ที่ต้องนำมาแสดง
๑.  บัตรประจำตัวประชาชน
๒.  สำเนาใบรับแจ้งความจากสถานีตำรวจ
กรณีขอหนังสือสำคัญแบบ สด.๘ ต้องนำรูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด ๓x๔ ซม. จำนวน ๓ รูป


การขอยกเว้น พระภิกษุ, สามเณรที่เป็นนักธรรม
หลักฐาน ที่ต้องนำมาแสดง
๑.  สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
๒.  ใบสุทธิสำหรับ พระภิกษุสามเณร
๓.  ใบสำคัญแบบ สด.๙
๔.  ใบประกาศปริยัติธรรมสนามหลวง






การเรียกพล

การเรียกพล 
            ผู้ที่ต้องถูกเรียกพลมีหลายประเภท แต่จะกล่าวถึงเฉพาะ "ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ " คือ ทหารที่ปลดจากกองประจำการ โดยรับราชการในกองประจำการ จนครบกำหนด และทหารกองเกินที่จบการฝึกวิชาทหารในชั้นปีที่ ๓ (รด. ปี ๓) ขั้นไป เมื่อขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเมื่อปลดเป็นกองหนุนจะได้รับหนังสือสำคัญ(สด.๘) พร้อมกับสมุดประจำตัวทหารกองหนุน ประเภทที่ ๑ ไว้เป็นหลักฐาน 

            ภายในระยะเวลาประมาณไม่เกิน ๒ ปี ทางราชการจะเรียกเข้ารับราชการทหารในการเรียกพล ซึ่งจะไม่เรียกทุกคน ดังนั้น ผู้ที่ถูกเรียกพลก็จะต้องไปตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนดต่อไป 

           ๑. การเรียกพล มีดังนี้ 

                ๑.๑ การเรียกพลเพื่อตรวจสอบ คือ การเรียกกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหาร กำหนดไม่เกิน ๑ วัน โดยกระทำในยามปกติเพื่อเข้ารับการตรวจสอบสภาพ ตรวจสอบบัญชี และซักซ้อมระเบียบ 
                ๑.๒ การเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร คือ การเรียกกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหาร มีกำหนดไม่เกิน ๖๐ วัน โดยกระทำในยามปกติเพื่อเข้ารับการฝึกทบทวนวิชาทหาร 
                ๑.๓ การเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม คือ การเรียกกำลังพลสำรอง เข้ารับราชการทหารมีกำหนดไม่เกิน ๖๐ วัน โดยกระทำในยามปกติ และยามสถานการณ์คับขัน เพื่อทดสอบแผน หรือเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ 
                ๑.๔ การระดมพล คือ การเรียกกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหารในยามที่ประเทศชาติอยู่ในสถานการณ์คับขัน โดยมีกำหนดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้น เพื่อป้องกันประเทศ หรือปราบปรามจราจลและขยายกำลังอัตราสงคราม 

               การเรียกพลทั้ง ๔ ประเภทนี้ เป็นการเตรียมพล เพื่อให้กำลังพลมีประสิทธิภาพในการพร้อมรบอยู่ตลอดเวลา 

                ทหารกองหนุน เมื่อได้รับหมายเรียกพลจากนายอำเภอท้องที่แล้ว ต้องไปเข้ารับการเรียกพลตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเรียกพล หากหลีกเลี่ยงขัดขืนจะมีความผิดตามกฎหมาย คือ หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ เดือน ถึง ๔ ปี 

           ๒. การผ่อนผันการเรียกพล 

                ทหารกองหนุนผู้ใด ถ้าเห็นว่าตนจะได้รับการผ่อนผันไม่ต้องเรียกเข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม เพราะเป็น 
                ๒.๑ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และข้าราชการ (ตั้งแต่ระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป) ก็ให้แจ้งต่อสถานศึกษาหรือส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่ พร้อมส่งหลักฐานขอผ่อนผันไปยังกระทรวงกลาโหม ดังนี้
                    ๒.๑.๑ บัญชีรายชื่อ (แบบ สด.๔๕) 
                    ๒.๑.๒ สำเนาหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) 
                    ๒.๑.๓ สำเนาหมายเรียกพล (ถ้ามี) 
                    ๒.๑.๔ สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - ชื่อสกุล(ถ้ามี) 
                    ๒.๑.๕ สำเนาหลักฐานการย้ายภูมิลำเนาทหาร (ถ้ามี) 
                ๒.๒ ครูหรืออาจารย์ ซึ่งประจำทำการสอนหนังสือ หรือวิชาการต่าง ๆ จะต้องไปขอผ่อนผันด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ทำการสอนอยู่ (ไม่ต้องส่งไปที่กระทรวงกลาโหม) โดยนำหลักฐาน ดังนี้ 
                    ๒.๒.๑ สำเนาหนังสือสำคัญ(แบบ สด.๘) 
                    ๒.๒.๒ หลักฐานรับรองว่าเป็นครูหรืออาจารย์ 
                    ๒.๒.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน 
                    การขอผ่อนผัน นักเรียน นิสิต และนักศึกษา ให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีรายชื่อ (แบบ สด.๔๕) ส่งไปยังกระทรวงกลาโหมทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ได้รับหมายเรียกพลก่อน ให้ขอผ่อนผันได้เมื่อเป็นทหารกองหนุนและอยู่ในระหว่างการศึกษา 

                    สำหรับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรยศตั้งแต่ ว่าที่ร้อยตรี ขั้นไป จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับทหาร ว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร ซึ่งถือว่าเป็นนายทหารกองหนุน โดยปกติมีหน้าที่เข้ารับราชการปีหนึ่งไม่เกิน ๒ เดือน จึงไม่มีสิทธิที่จะขอผ่อนผันการเรียกพล 

                    ทหารกองหนุน เมื่อได้รับหมายเรียกพลแล้วขอได้สละเวลาไปรับราชการทหารด้วยความสมัครใจเพื่อเป็นการพบปะผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมรุ่น ทั้งเป็นการฝึกทวนแนะนำอาวุธใหม่ ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ดังนั้น อย่าได้คิดหลีกเลี่ยง ขัดขืน หรืออ้างความจำเป็นใด ๆ จนเป็นเหตุให้ขาดการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีต่อชาติ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเอง และประเทศชาติในที่สุด

หน้าที่ของกำลังพลสำรอง

หน้าที่ของกำลังพลสำรอง 

กำลังพลสำรองทุกนาย มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ตามที่ทาง


ราชการกำหนด หากขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงแล้วย่อมจะมีความผิดตามที่ได้ระบุไว้ ดังนั้นจึงควรทราบถึง


หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ ซึ่งสรุปได้ดังนี้คือ 

นายทหารสัญญาบัตรกองหนุน โดยปกติสังกัด กพ.ทบ. มี จก.กพ.ทบ.เป็นผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด 


ต้อง


ปฏิบัติตนตามข้อบังคับ คำสั่ง และแบบธรรมเนียมของทหาร คือ

๑. การย้ายประเภทนายทหารสัญญาบัตร แจ้ง กพ.ทบ.ต้นสังกัดก่อนกำหนด ๑๒๐ วัน

๒. การย้ายภูมิลำเนาจะต้องรายงานต้นสังกัดก่อนจะย้ายหรือหลังวันย้ายไม่เกิน ๑๕ วัน

๓ . ไปอยู่ต่างภูมิลำเนาชั่วคราว

- ไปต่างจังหวัดตั้งแต่ ๓๐ วันขึ้นไป ต้องรายงาน กพ.ทบ. ต้นสังกัดก่อนวันไปหรือหลังวันไปไม่เกิน ๑๕ 


วัน


- เมื่อจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องทำรายงานขออนุญาตต่อ กพ.ทบ.ต้นสังกัด


เพื่อขออนุมัติต่อไปตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

๔. เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล นำหลักฐานแจ้งต่อ กพ.ทบ. ต้นสังกัด (เพื่อแก้ไขประวัติ)

๕. อุปสมบท รายงาน (ตามแบบรายงาน ) วัน , เดือน , ปี, วัด, ตำบล อำเภอ, และจังหวัด ที่จะอุปสมบท


ก่อนวันอุปสมบทไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน 

๖. เมื่อต้องหาคดีอาญา (เว้นคดีขึ้นศาลทหาร) คดีแพ่งหรือคดีล้มละลายต้องรายงานต่อ กพ.ทบ. ต้น


สังกัดโดยเร็ว

๗. เมื่อเข้ารับราชการกระทรวง ทบวง กรมอื่น (นอกกระทรวงกลาโหม) รายงาน กพ.ทบ. ต้นสังกัดภายใน 


๑๕ วัน

ก. เริ่มเข้ารับราชการ


ข. เลื่อนเงินเดือน หรือย้ายตำแหน่ง


ค. ออกจากราชการ


๘. การรายงานตัว รายงานต่อ กพ.ทบ. ต้นสังกัด


ก. ทราบคำสั่งแต่งตั้งยศ แล้วปลดเป็นนายทหารสัญญาบัตรกองหนุนในโอกาสแรก (เฉพาะ นศท.)


ข. ทันทีที่ออกจากราชการ (ไม่เกิน ๑๕ วัน)


ค. ตรวจร่างกายปีละครั้ง (ตามเวลาที่กำหนด)


ง. แสดงตนต่อเจ้าหน้าที่การเงินปีละครั้งในต้น ต.ค. (เฉพาะผู้มีเบี้ยหวัดหรือบำนาญ)


๙. การเข้ารับราชการทหาร



ก. มีหน้าที่เข้ารับราชการทหารปีหนึ่งไม่เกิน ๒ เดือน และมีหน้าที่เข้ารับราชการในขณะที่มีราชการพิเศษ


ข. เมื่อมีราชการสงครามหรือประกาศระดมพล หรือประกาศใช้กฎอัยการศึกในเขตท้องที่ซึ่งตนตั้ง


ภูมิลำเนาอยู่ แม้จะไม่ได้รับคำสั่งเรียกพลประการใดก็ต้องรีบไปรายงานตนเอง ณ หน่วยทหารที่ตั้งอยู่ใน


ภูมิลำเนานั้นทันที

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2556